เมนู

เป็นต้น ตรัสผลด้วยปัจจเวกขณญาณ. คำที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้น
แล.
จบอรรถกถาทุติยอริยวสสูตรที่ 10
จบนาถกรณวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. เสนาสนสูตร 2. อังคสูตร 3. สังโยชนสูตร 4. ขีลสูตร
5. อัปปมาทสูตร 6. อาหุเนยยสูตร 7. ปฐมนาถสูตร 8. ทุติยนาถ-
สูตร 9. ปฐมอริยวสสูตร 10. ทุติยอริยวสสูตร.

มหาวรรคที่ 3


1. สีหสูตร


ว่าด้วยกำลังของพระตถาคต 10 ประการ


[21] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเวลาเย็น สีหมฤคราชย่อมออก
จากที่อาศัย ครั้นแล้วย่อมเหยียดดัดตัว ครั้นแล้วย่อมเหลียวดูทิศทั้ง
โดยรอบ ครั้นแล้วย่อมบันลือสีหนาทสามครั้ง ครั้นแล้วย่อมหลีกไปเพื่อ
หากิน ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมันคิดว่า เราอย่าได้ยังสัตว์ตัวเล็ก ๆ
ผู้ไปในที่หากินอันไม่สม่ำเสมอให้ถึงการถูกฆ่าเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คำว่าสีหะนี้แล เป็นชื่อแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัท เป็นสีหนาทของตถาคต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบด้วยกำลังเหล่าใด ย่อม
ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท
กำลังของตถาคตมี 10 ประการนี้ 10 ประการเป็นไฉน ตถาคตย่อมรู้ชัด
ซึ่งฐานะ โดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้ ตามเป็นจริง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะ
โดยเป็นอฐานะตามเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของตถาคต ที่ตถาคตอาศัย
ปฏิญาณฐานะของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท.
อีกประการหนึ่ง ตถาคตย่อมรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำ
ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามเป็นจริง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ตถาคตรู้ชัดซึ่งวิบากแห่งการยึดถือการกระทำ
ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามที่เป็นจริงนี้